Print this page

อ่างเก็บน้ำหนองช้างใหญ่ ตำบลยางสักกระโพหลุ่ม แลนด์มาร์คแห่งใหม่เมืองดอกบัว ห่างตัวเมืองเพียง 17 กิโลเมตร

   อ่างเก็บน้ำหนองช้างใหญ่ ตั้งอยู่ที่บ้านนาดี หมู่ที่ 2 ตำบลยางสักกระโพหลุ่ม อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี ซึ่งมีขนาดความจุ 7.675 ล้าน ลบ.ม.ก่อสร้างเสร็จในปี 2497 ซึ่งในปัจจุบันนับว่ามีอายุการใช้งานมายาวนานแล้ว จนทำให้มีตะกอนตกจมเป็นจำนวนมาก ต่อมาในปี 2562 ได้รับผลกระทบจากพายุโพดุล จนทำให้มีปริมาณน้ำกว่า 23 ล้าน ลบ.ม. ไหลเข้าอ่างฯ จนทำให้เกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่ และเกิดวัชพืชหนาแน่นในบริเวณพื้นที่อ่างเก็บน้ำ ทำให้ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งต่อมาในวันที่ 6 กุมภาพันธุ์ 2563 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน ได้รับทราบปัญหา จึงได้สั่งการให้กรมชลประทาน ดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพอ่างเก็บน้ำหนองช้างใหญ่ ให้สามารถกักเก็บน้ำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน ปี 2564 นี้ และยังได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมราษฏร ณ อ่างเก็บน้ำหนองช้างใหญ่ด้วย

 

  จากนั้น โครงการชลประทานอุบลราชธานี สำนักงานชลประทานที่ 7 กรมชลประทาน ก็ได้เร่งดำเนินการตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยในปี 2562-2563 ได้ดำเนินการขุดลอกอ่างเก็บน้ำหนองช้างใหญ่ ในปริมาณ 1.25 ล้านลูกบาศก์เมตร งานท่อรับน้ำจำนวน 20 แห่ง ปรับปรุงอาคารระบายน้ำล้น พร้อมเสริมสันบานแบบฝายพับได้ โดยสามารถยกระดับเก็บกักขึ้นได้ 0.50 เมตร คิดเป็นปริมาณน้ำ 3.38 ล้านลูกบาศก์เมตร และเสริมสันทำนบดิน สูงขึ้นอีก 0.50 เมตร ยาว 640 เมตร และต่อมาใน ปี 2564 ก็ได้ทำการขุดลอกอ่างเก็บน้ำหนองช้างใหญ่ ต่ออีกในปริมาณ 10.25 ล้านลูกบาศก์เมตร งานท่อ 40 แห่ง งานอาคารท่อระบายน้ำ 3 แห่ง และงานก่อสร้างถนนยางพาราแอสฟัลท์ติกรอบอ่างเก็บน้ำ ขนาดกว้าง 12.00 เมตร ยาว 1,000 เมตร ซึ่งก็จะเร่งดำเนินการต่อไปให้แล้วเสร็จในปี 2565 โดยทำถนนยางพาราแอสฟัลท์ติกรอบอ่างเก็บน้ำ ขนาดกว้าง 12.00 เมตร ยาว 14,000 เมตร และระบบจ่ายๆไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (โซล่าเซลล์) พร้อมงานปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อให้เป็นแลนด์มาร์คใหม่เมืองอุบลราชธานีต่อไป ซึ่งที่ตั้งโครงการนี้อยู่ห่างจากตัวเมืองอุบลฯเพียง 17 ก.ม.เท่านั้น โดยในโครงการจะขุดนำเอาดินในโครงการฯขึ้นมาถมให้เป็นรูปดอกบัวและใบบัว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานี ทำให้ไม่ต้องนำดินส่วนหนึ่งไปทิ้งที่อื่นให้เกิดปัญหาอีกด้วย โดยดินที่ถมให้เป็นรูปดอกบัวและใบบัวก็จะเป็นการเพิ่มพื้นที่ในโครงการขึ้นมาอีกหลายร้อยไร่ ซึ่งมากพอที่จะทำเป็นสถานที่พักผ่อนในรูปแบบต่างๆ ให้ผู้ที่อยู่ติดกับพื้นที่รอบอ่าง และผู้ที่ต้องการมาพักผ่อน ได้ใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งผู้ที่อยู่ติดกับพื้นที่รอบอ่าง ยังจะได้ใช้น้ำที่จะจ่ายไปตามคลองชลประทาน เพื่อนำไปใช้ทางการเกษตรอีกด้วย ซึ่งรอบๆอ่างเก็บน้ำหนองช้างใหญ่ มีพื้นที่ติดกับ 3 ตำบลคือ 1. ตำบลหัวเรือ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 2. ตำบลขี้เหล็ก อ.เมือง จ.อุบลราชธานี และ 3. ตำบลยางสักกระโพหลุ่ม อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี ซึ่งมีจำนวน 8 หมู่บ้าน ซึ่งก็จะได้ประโยชน์จากโครงการนี้ด้วย โดยการบริหารจัดการของโครงการชลประทานอุบลราชธานี สำนักงานชลประทานที่ 7 กรมชลประทาน

  โครงการดังกล่าวนี้ ของโครงการชลประทานอุบลราชธานี สำนักงานชลประทานที่ 7 กรมชลประทาน หากแล้วเสร็จ ก็จะทำให้สามารถเก็บกักน้ำ จากเดิม 7.675 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็น 15.33 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมเป็นความจุทั้งสิ้น 23.00 ล้านลูกบาศก์เมตร สามารถบรรเทาปัญหาอุทกภัย ช่วยเหลือพื้นที่ได้กว่า 9,000 ไร่ สามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้อีก จากเดิม 4,300 ไร่ เพิ่มขึ้น 8,000 ไร่ รวามเป็น 12,300 ไร่ และยังสามารถเพิ่มพื้นที่รับประโยชน์ขึ้นอีก จากเดิม 3,500 ไร่ เพิ่มขึ้น 15,000 ไร่ รวมเป็น 18,500 ไร่ อีกทั้งยังเป็นแหล่งส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพให้กับพื้นที่ชุมชนและพื้นที่ชุมชนใกล้เคียง และยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำชองชุมชนอีกด้วย ซึ่งนอกจากจะทำให้ประชาชนได้ใช้ทรัพยากรน้ำอย่างเต็มที่แล้ว ก็ยังจะได้สถานที่พักผ่อนขนาดใหญ่ พร้อมเป็นแลนด์มาร์คใหม่ของเมืองอุบลฯอีกด้วย

Cr. ภาพเพื่อประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวของท้องถิ่น องค์การบริหารส่วตำบลยางสักกระโพหลุ่ม กราบขอบพระคุณแหล่งข้อมูล และภาพสวยสวยของนักท่องเที่ยวทุกท่าน ไว้นะที่นี้ด้วย

1 ความคิดเห็น